Skip to content

Latest commit

 

History

History
131 lines (128 loc) · 17.9 KB

4.3. Managing people.md

File metadata and controls

131 lines (128 loc) · 17.9 KB

การบริหารบุคคล (Managing people)

  • คนเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร
  • งานหลักของผู้บริหารจะที่มุ่งเน้นคน
    • การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับคน จะทำให้การบริหารไม่ประสบความสำเร็จ
  • การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม้ผล เป็นส่วนสำคัญในการทำให้โครงการล้มเหลว

ปัจจัยการบริหารคน

  • ความมั่นคงทางอารมณ์
    • สมาชิกในทีมทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีคนโปรด ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
  • การเคารพความแตกต่าง
    • สมาชิกในทีมต่างมีทักษะที่แตกต่างกัน และทุกคนต้องยอมรับความแตกต่างเหล่านี้
  • ความสามัคคี
    • มีส่วนร่วมกับสมาชิกในทีมทั้งหมดและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามุมมองของทุกคนได้รับการพิจารณาอย่างสำคัญเท่าเทียมกัน
  • ความสุจริต
    • ต้องมีความซื่อสัตย์กับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีในโครงการ

การสร้างแรงจูงใจคน

  • บทบาทที่สำคัญของผู้จัดการคือ การกระตุ้นทุกคนที่ทำงานในโครงการ
  • แรงจูงใจคือ การจัดงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อกระตุ้นให้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ถ้าคนไม่ได้รับแรงกระตุ้นพวกเขาจะไม่สนใจงานที่พวกเขากำลังทำอยู่
    • พวกเขาจะทำงานช้า
    • มีแนวโน้มที่จะทำผิดพลาดและจะไม่นำไปสู่เป้าหมายที่กว้างขึ้นของทีมหรือองค์กร
  • การสร้างแรงจูงใจเป็นเรื่องซับซ้อน แต่สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น
    • ความต้องการขั้นพื้นฐาน (เช่น อาหาร การนอนหลับ ฯลฯ );
    • ความต้องการส่วนบุคคล (เช่น เคารพนับถือตนเอง);
    • ความต้องการทางสังคม (เช่น ได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม)

ลำดับความต้องการของมนุษย์

คน - ต้องการความพึงพอใจ

  • ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ความต้องการทางสรีรวิทยาและความปลอดภัยขั้นพื้นฐานไม่ได้เป็นปัญหา
  • ความต้องการทางสังคม
    • มีสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลาง
    • อนุญาตการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ เช่น ผ่านทางเครือข่ายทางสังคม
  • ความภาคภูมิใจในตนเอง
    • ต้องการให้มีการรับรู้ความสำเร็จจากผู้อื่น
    • ต้องการรางวัลที่เหมาะสม
  • ความต้องการในตนเอง
    • ต้องการการฝึกอบรม - คนมักต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
    • ความรับผิดชอบ - อยากได้รับงานที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้น

ประเภทบุคลิกภาพ

  • โดยทั่วไป เราสามารถใช้ลำดับความต้องการพื้นฐาน เพื่อสร้างแรงจูงใจ แต่ในทางปฏิบัติ คนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
  • การสร้างแรงจูงใจควรคำนึงถึงบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน:
    • คนที่มุ่งเน้นงาน (Task-oriented people)
      • มีแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของงานที่พวกเขาทำ
  • คนที่มุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ (Interaction-oriented people)
    • มีแรงจูงใจจากการแสดงออกและการกระทำของเพื่อนร่วมงาน
  • คนที่มุ่งมั่นในตนเอง (Self-oriented people)
    • มีแรงบันดาลใจจากความสำเร็จส่วนบุคลและการเป็นที่รู้จัก

วิธีการสร้างแรงจูงใจในแต่ละประเภทบุคลิกภาพ

  • คนที่มุ่งเน้นงาน (Task-oriented people)
    • แรงจูงใจในการทำงาน คือการมีผลงานเป็นของตัวเอง
  • คนที่มุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ (Interaction-oriented people)
    • แรงจูงใจหลักคือการแสดงออกและการกระทำของเพื่อนร่วมงาน
    • คนพวกนี้ไปทำงานเพราะชอบไปที่ทำงาน (ไปเจอเพื่อน ๆ)
  • คนที่มุ่งมั่นในตนเอง (Self-oriented people)
    • ความสำเร็จในการทำงาน หมายถึงการบรรลุความต้องการส่วนบุคคล เช่น ได้รวยขึ้น ได้เล่นกีฬาที่ชอบ ได้เดินทาง ฯลฯ

การสร้างสมดุลของแรงจูงใจในการทำงาน

  • แรงจูงใจส่วนบุคคลประกอบด้วยองค์ประกอบทุก ๆ ขั้นที่กล่าวมา
  • ความสมดุลในแต่ละขั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ส่วนบุคคลและเหตุการณ์ภายนอก
  • แรงบันดาลใจ ไม่ได้เกิดจากปัจจัยด้านบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการได้เข้ากลุ่มและวัฒนธรรมในสังคมอีกด้วย
    • หัวหน้างานเพียงคนเดียว ไม่อาจสร้างแรงจูงใจได้เท่ากับทุกคนในองค์กร
  • คนไปทำงานเพราะพวกเขามีแรงจูงใจจากคนที่พวกเขาร่วมงานด้วย

การการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

การทำงานเป็นทีม

  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ทำเป็นทีม
    • ข้อกำหนดการพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง
  • ทีมที่ดีจะเหนียวแน่นและมีจิตวิญญาณของทีม
    • คนในทีมมีแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของทีม เช่นเดียวกับเป้าหมายส่วนบุคคล
  • ปฏิสัมพันธ์ของทีมเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการปฏิบัติงานของทีม
  • ความยืดหยุ่นในการจัดทีม มีจำกัด
    • ผู้จัดการต้องทำอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับทุกคนที่อยู่ในทีม

ความเหนียวแน่นของทีม

  • ในทีมที่เหนียวแน่น สมาชิกจะเห็นว่า “ทีม” มีความสำคัญมากกว่า “บุคคล” เสมอ (ต่อให้คนนั้นคือ หัวหน้า ก็ตาม)
  • ข้อได้เปรียบของทีมที่เหนียวแน่น ได้แก่
    • ทีมสามารถพัฒนามาตรฐานคุณภาพของทีมได้
    • สมาชิกในทีมเรียนรู้จากกันและกัน และทำความรู้จักงานของกันและกัน
    • การยับยั้งสิ่งแย่ๆ ที่เกิดจากความไม่รู้จะทำได้ดีขึ้น
    • แบ่งปันความรู้ - สามารถรักษาความต่อเนื่องได้หากสมาชิกในทีมออกจากโครงการ
    • มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
    • สมาชิกในกลุ่มทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ
    • แก้ไขปัญหาโดยไม่คำนึงถึงบุคคลที่สร้างสรรค์หรือออกแบบโปรแกรม

ประสิทธิภาพของทีม

  • ทีมที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มีแรงจูงใจเดียวกัน ก็อาจเป็นปัญหาได้
    • คนที่มุ่งเน้นงาน - ทุกคนต้องการที่จะทำสิ่งที่ตัวเองอยากได้ผลงาน
    • คนที่มุ่งมั่นในตนเอง - ทุกคนต้องการที่จะเป็นเจ้านาย
    • คนที่มุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ – การแชทมากเกินไปไม่ทำงานเพียงพอ
  • ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จะเกิดขึ้นเมื่อมีความสมดุลของคนทุกประเภท
  • ทีมที่สมบูรณ์แบบอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำได้
    • เนื่องจากวิศวกรซอฟต์แวร์มักจะ บ้างาน (task-oriented)
  • คนที่มุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ จะมีความสำคัญต่อองค์กรมาก
    • สามารถตรวจจับและขจัดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นได้

การจัดทีม

  • วิธีการจัดทีมมีผลต่อ :
    • การตัดสินใจของกลุ่ม
    • วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในทีม
    • การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างทีมและผู้มีส่วนได้เสียของโครงการ
  • คำถามที่สำคัญ ได้แก่ :
    • ผู้จัดการโครงการควรเป็นผู้นำด้านเทคนิคของทีมนี้หรือไม่?
    • ใครจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางเทคนิคที่สำคัญและจะทำอย่างไร?
    • จะมีการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้เสียภายนอกและผู้บริหารอาวุโสของบริษัทอย่างไร?
    • ทีมสามารถรวมกลุ่มคนที่ไม่ได้อย่าเดียวกันได้อย่างไร?
    • สามารถแชร์ความรู้กันได้อย่างไรในทีม?

การจัดทีม

  • ทีมวิศวกรรมซอฟท์แวร์ขนาดเล็กมักตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ
    • ไม่มีโครงสร้างที่เข้มงวด
  • โครงการขนาดใหญ่อาจมีโครงสร้างลำดับชั้น
    • แล้วตั้งทีมย่อย ๆ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการย่อยต่าง ๆ
  • การพัฒนาแบบ agile มักจะเป็นทีมที่ไม่เป็นทางการ
    • โครงสร้างที่เป็นทางการมักจะเป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ทีมที่ไม่เป็นทางการ

  • ทุกคนในทีมมีอำนาจในการตัดสินใจที่มีผลต่อระบบ
  • หัวหน้าทีมทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อภายนอกทีม
  • งานทุกอย่างจะทำในนามของทีม โดยมีการจัดสรรงานตามความสามารถและประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคน
  • วิธีนี้ประสบความสำเร็จสำหรับทีมที่สมาชิกทุกคนมีประสบการณ์และความสามารถสูง

การสื่อสารในทีม

  • การสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
  • ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล
    • สถานะของงาน
    • การตัดสินใจในการออกแบบ
    • การเปลี่ยนแปลงในการตัดสินใจก่อนหน้านี้
  • การสื่อสารที่ดีจะช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของทีม เป็นการส่งเสริมความเข้าใจกันและกัน

ปัจจัยของการสื่อสารในทีม

  • ขนาดของกลุ่ม
    • เมื่อกลุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้สื่อสารกับสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ยากขึ้น
  • โครงสร้างกลุ่ม
    • ทีมที่มีโครงสร้างอย่างไม่เป็นทางการจะมีการสื่อสารที่ดีกว่ากลุ่มที่มีโครงสร้างตามลำดับชั้น
  • องค์ประกอบของทีม
    • การสื่อสารของทีมจะดีขึ้น เมื่อมีคนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันร่วมทีม
    • ทีมควรมีการผสมผสานมากกว่าที่จะมีแต่คนเพศเดียวกัน
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานทางกายภาพ
    • องค์กรที่มีสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถช่วยสนับสนุนการสื่อสารได้